[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
LINE CONTACT

LOGIN FOR Customer
Stock Online สำหรับลูกค้า
Username
Password
LOGIN WMS
สำหรับพนักงาน
Username
Password
ปฏิทินกิจกรรม
หมวดหมู่ : ข่าวสารทั่วไป
เรื่อง : หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) /วิธีจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
โดย : admin
เข้าชม : 1035
อังคาร ที่ 10 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2566
A- A A+
        

หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) /วิธีจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) หมายถึง หน้าที่ในการรับสินค้า (Receiving) โดยการตรวจสอบจำนวน คุณลักษณะในการที่จะแยกแยะ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ โดยการจัดการที่มีระบบการตรวจสอบและตรวจนับความถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับปริมาณ ,จำนวน ,สภาพ และคุณภาพ คลังสินค้าทุกประเภทจะทำหน้าที่ในฐานะผู้ทรงสิทธิในความเป็นเจ้าของสินค้าชั่วคราว ซึ่งหมายถึง ความรับผิดชอบที่จะมีต่อตัวสินค้า

หน้าที่ของคลังสินค้าในการควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บอยู่ในคลัง ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการ ทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บเพื่อความคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการจัดเตรียม , เครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ เช่น รถยก , ชั้นหรือหิ้งสำหรับวางสินค้า , การควบคุมบรรยากาศ อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม

ในคลังให้เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภทรวมถึงอาศัยระบบและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automated Robot System (ระบบหุ่นยนต์) ,ระบบ Bar Code หรือ RFID รวมถึงระบบการสื่อสารอิเล็กโทรนิกส์

โดยกิจกรรมในการควบคุมสินค้านี้จะเกี่ยวข้องกับการคัดแยกสินค้า , การบรรจุ , การแบ่งบรรจุ , การคัดเลือก , การติดป้าย และที่สำคัญและเป็นหัวใจของคลังสินค้า คือ การควบคุมทางด้านเอกสาร ทั้งที่เกี่ยวกับรายงาน (Status) การเคลื่อนไหว การรับและการเบิก-จ่าย ที่เรียกว่า Inventory Report และการควบคุมทางบัญชี

หน้าที่ของคลังสินค้าในการส่งมอบจ่ายแจกสินค้า เป็นการส่งมอบสินค้าให้กับฝ่ายผลิตหรือลูกค้า หรือผู้ที่มาเบิกหรือตามคำสั่งของผู้ฝากสินค้าซึ่งจะต้องส่งมอบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้รับ ทั้งจำนวน , สภาพ , สถานที่และเวลา (The right thing at the right place in the right time) ซึ่งจะต้องมีกระบวนการคัดเลือกสินค้าและระบบการจัดส่งให้กับลูกค้า ด้วยหน้าที่นี้ทำให้คลังสินค้าสามารถแยกออกตามลักษณะของภารกิจ ได้แก่ คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บ (Storage Warehouse) ,คลังสินค้าสำหรับจำหน่าย , ศูนย์ขนส่งสินค้า , คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded) , ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock Warehouse) และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ฯลฯ

วิธีจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

1. แยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้า
ทำการแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้าและติดป้าย Label หรือ Barcode (ถ้ามี)ให้กับสินค้าทุกชิ้น และทำการอ้างอิงให้ตรงกับรายการสินค้าที่ลงขายในร้านค้าออนไลน์

2. แยกประเภทสินค้าด้วยความเร็วในการขาย
แยกประเภทสินค้าที่ขายเร็ว-ช้าออกจากกัน และจัดให้สินค้าขายเร็ว อยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้สะดวกในการนำสินค้ามาบรรจุหีบห่อ

3. จัดการ Stock Keeping Unit (SKU)
กำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ให้กับสินค้าที่ขายให้มีความแตกต่างกันชัดเจน เพื่อความสะดวกสำหรับคนจัดสินค้าให้สามารถจัดสินค้าที่ผู้ซื้อสั่งได้ถูกต้องตรงตามรายการสั่งซื้อ และช่วยให้การจัดการสต๊อคในระบบหลังร้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. กำหนดจำนวนสินค้าในคลัง
ระบุจำนวนสินค้าแต่ละประเภทที่มีในคลังสินค้าจริง โดยส่วนใหญ่ร้านค้าจะสามารถจัดส่งสินค้าที่มีในคลังได้รวดเร็ว จึงทำให้ร้านสามารถกำหนดระยะเวลาเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่งในระบบได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับผู้ซื้อที่ต้องการสินค้าเร็ว

5. รู้ระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต
กำหนดระยะเวลาในการสั่งสินค้าแต่ละตัว ในกรณีมีรายการสั่งซื้อเข้ามาเกินจำนวนสินค้าในคลังจริง และยังมีความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ร้านค้าสามารถปรับเพิ่มจำนวนสินค้าในคลังที่ระบบหลังร้าน เพื่อให้ลูกค้ายังสามารถสั่งซื้อได้ แต่ควรปรับเพิ่มระยะเวลาเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่งให้สอดคล้องกับวันที่สินค้าจากผู้ผลิตจะมาส่งที่ร้านค้า เพื่อไม่ให้การจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อขอคืนเงินหรือให้คะแนนความพึงพอใจในระดับต่ำได้

6. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า
6.1 ทำรายการสถานที่เก็บสินค้าทุกชิ้น เช่น สถานที่ตั้งคลังสินค้า เลขที่ชั้นวางสินค้า

6.2 ทำป้ายกำกับชั้นวางสินค้า โดยมีเลขที่ชั้นวางสินค้ากำกับในทุกชั้น

6.3 ทำรายการสินค้าทั้งหมดที่วางอยู่ในชั้นวางสินค้าแต่ละชั้นพร้อมบอกจำนวนชิ้นทั้งหมด

6.4 หากมีการนำสินค้าออกจากชั้นวาง ให้ทำการหักจำนวนสินค้าออกจากรายการที่หน้าชั้นวางและหักจากรายการสินค้าที่บันทึกไว้ด้วย เพื่อการตรวจสอบสต๊อกสินค้าในภายหลัง

7.ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ
ร้านค้าควรกำหนดวันที่ต้องเช็คสต๊อก เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เพื่อเป็นการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลัง เปรียบเทียบกับจำนวนสินค้าที่ขายได้ และนำมาคำนวณยอดรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าต่อไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.businessplus.co.th





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวสารทั่วไป5 อันดับล่าสุด

      อบรมหลักสูตรการดับเพลิงขั้นต้น ฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ของบริษัท พัฒนนารายณ์ จำกัด ประจำปี 2024 4/ธ.ค./2567
      ตรวจ 5 ส. ประจำเดือนกันยายน 2567 26/ก.ย./2567
      บริษัท พัฒนนารายณ์ จำกัด จัดฝึกอบรมการขับขี่โฟรคลิฟท์ อย่างปลอดภัย Refresh Training เพื่อเพิ่มทักษะความรู้แก่พนักงานขับรถ ประจำปี 2567 6/ส.ค./2567
      วิธีการแก้ไขสินค้าคงคลังไม่ตรงกัน (Stock Diff) ! 18/ต.ค./2566
      หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) /วิธีจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ 10/ต.ค./2566