[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
LINE CONTACT

LOGIN FOR Customer
Stock Online สำหรับลูกค้า
Username
Password
LOGIN WMS
สำหรับพนักงาน
Username
Password
ปฏิทินกิจกรรม
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
เรื่อง : โลจิสติกส์บูมอัตราเช่าสูงสุดในรอบ 10 ปี คลังสินค้าแบบบิวท์ ทู สูทมาแรง
โดย : admin
เข้าชม : 672
พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565
A- A A+
        

โลจิสติกส์บูมอัตราเช่าสูงสุดในรอบ 10 ปี คลังสินค้าแบบบิวท์ ทู สูทมาแรง
ไนท์แฟรงค์ ระบุ แรงหนุนมาจากธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ หนุนโลจิสติกส์บูม ชี้เทรนด์คลังสินค้าสร้างตามความต้องการหรือบิวท์ ทู สูทมาแรงแซงคลังสินค้าสำเร็จรูป หลังของปี 2564 อัตราดูดซับสูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
จากภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้น 1.9% ปีต่อปี โดยปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวในไตรมาสที่ 3 ที่ 0.2% ปีต่อปี สำหรับปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้น 1.6% ปีต่อปี โดยปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวในปี 2563 ที่ 6.2% ปีต่อปี ในปี 2564 การส่งออกสินค้า การบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุนต่างๆ ขยายตัวขึ้นคิดเป็น 18.8%, 0.3% และ 3.4% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.2% และบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.2% ของจีดีพี มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เพิ่มขึ้น 21.3% โดยสูงกว่าการเติบโตในไตรมาสก่อนหน้าที่ 15.7% ดัชนีปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น 16.8% โดยเพิ่มจาก 12.2% ในไตรมาสที่แล้ว ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น 3.1% ในไตรมาสที่แล้ว สำหรับด้านการผลิต ภาคการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าเพิ่มขึ้น 3.2% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นจากการหดตัว 1.4% ในไตรมาสที่แล้ว ตามด้วยการเร่งของการขนส่งสินค้าทางอากาศ และการขยายตัวของการขนส่งทางน้ำอย่างต่อเนื่อง

มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวอยู่ในช่วง 3.5% - 4.5% โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และการสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้ามีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น 4.9%

ขณะเดียวกัน การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.5% และ 3.8% ตามลำดับ

การลงทุนของภาครัฐคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.6%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.5% - 2.5%

บัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 1.5% ของดีจีพี
ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ระบุว่า อุปทานรวมของคลังสินค้าสำเร็จรูปคิดเป็นพื้นที่ 4.73 ล้านตารางเมตร โดยมีพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มขึ้น 78,955 ตารางเมตร เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 3.5% ปีต่อปี

โดยมีปัจจัยหลักจาก Tip Industrial ผู้พัฒนาท้องถิ่นรายใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ การเติบโตเพียงเล็กน้อยนี้สอดคล้องกับระดับของอุปทานใหม่ตั้งแต่ปี 2560 ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ที่หันไปหาคลังสินค้าสร้างตามความต้องการ (build-to-suit) แทนการเก็งกำไรคลังสินค้าสำเร็จรูป คลังสินค้าที่สร้างตามความต้องการทำให้ผู้พัฒนาโลจิสติกส์ลดความเสี่ยงในด้านพื้นที่ว่างหลังการพัฒนา
โลจิสติกส์บูมอัตราเช่าสูงสุดในรอบ 10 ปี คลังสินค้าแบบบิวท์ ทู สูทมาแรง
เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงถือครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 อุปทานในเขตนี้เพิ่มขึ้น 7.5% ปีต่อปี อยู่ที่ 2.2 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็น 47.1% ของอุปทานคลังสินค้าสำเร็จรูปทั้งหมด อุปทานใหม่จะอยู่ตามแนวถนนบางนา-ตราดในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอุปทานใหม่หนาแน่นอยู่แล้ว

และเป็นทำเลที่ดีที่อยู่ระหว่างจังหวัดกรุงเทพฯ กับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะพื้นที่โลจิสติกส์ระดับไพร์ม โดยเฉพาะกับโลจิสติกส์แบบจัดส่งถึงมือผู้บริโภคโดยตรง (last-mile logistics) โดยมีสาเหตุมาจากการที่บริเวณนี้อยู่ใกล้กับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ

อุปทานในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและภาคกลางยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ช่วงครึ่งปีก่อนหน้า ด้วยส่วนแบ่งตลาด 36.8% และ 15.6% ตามลำดับ ทั้งสองพื้นที่นี้ไม่ได้มีการเติบโตในระดับที่มีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในภาคกลาง
อุปสงค์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 อัตราดูดซับ (take-up rate) พุ่งสูงขึ้นกว่า 186,000 ตารางเมตร แตะระดับที่ไม่เคยถึงมานับตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 พื้นที่ว่างในช่วงครึ่งปีนี้คิดเป็นประมาณ 42,000 ตารางเมตร ส่งผลให้เกิดอัตราการดูดซับสุทธิเชิงบวกอยู่ที่ 144,000 ตารางเมตร คิดเป็นการเติบโต  2.8 เท่าจากครึ่งปีก่อนหน้า และคิดเป็นการเติบโต 189% ปีต่อปี ดังนั้นพื้นที่ครอบครองทั้งหมดจึงเพิ่มขึ้น 4.8% ปีต่อปี อยู่ที่ 4.01 ล้านตารางเมตร แสดงอัตราการครอบครองอยู่ที่ 85% ซึ่งสูงที่สุดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

อุปสงค์ยังคงได้รับการขับเคลื่อนจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซเป็นหลัก และบริษัทโลจิสติกส์ (3PL) ที่ขยายกิจการตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าออนไลน์

อัตราครอบครองรวมเพิ่มขึ้นโดยมีแรงหนุนมาจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดจากชายฝั่งทะเลตะวันออก การผสมผสานระหว่างอัตราการดูดซับที่สูง ประกอบกับอุปทานใหม่ที่มีอยู่จำกัด ส่งผลให้อัตราครอบครองเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 81% โดยสูงกว่าครึ่งปีที่แล้ว 5% คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 7.1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี หรือ 6.4% ปีต่อปี

อย่างไรก็ตาม พื้นที่นี้ยังคงตามหลังพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีอัตราครอบครองโดยเฉลี่ยที่ 89% ส่วนพื้นที่ภาคกลางยังคงแข็งแกร่ง โดยลดลงเล็กน้อยเพียง 0.6% ปีต่อปี มีการครอบครองเฉลี่ยอยู่ที่ 80%

ขณะที่อัตราค่าเช่า ราคาเช่าคลังสินค้าสำเร็จรูปในไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.9% ปีต่อปี อยู่ที่ 159 บาท/ตารางเมตร/เดือน การเติบโตเพียงเล็กน้อยนี้มีความสำคัญอย่างมากเมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้นต่อปี (compound average annual growth) ของอัตราค่าเช่าที่ 0.3% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการฟื้นตัวที่รวดเร็วของกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และอุปสงค์คลังสินค้าสำเร็จรูป เนื่องจากประเทศไทย และอีกหลายประเทศเริ่มยกเลิกข้อจำกัดด้านสาธารณสุขที่เคยกำหนดไว้ในช่วงการแพร่ระบาด

ราคาค่าเช่าในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมถึงชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นเป็น 161.2 และ 163.2 บาท/ตารางเมตร/เดือน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.3% ปีต่อปี และ 1.1% ปีต่อปี ตามลำดับ

พื้นที่คลังสินค้าแบบไพร์มที่มีจำกัดในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลส่งผลให้ราคาเช่าในพื้นที่นี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน การขาดอุปทานคลังสินค้าสำเร็จรูปใหม่ในชายฝั่งทะเลตะวันออก ประกอบกับอุปสงค์ที่ค่อนข้างมากในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 ได้กระตุ้นให้ผู้พัฒนาเพิ่มราคาเช่า โดยอัตราค่าเช่าในพื้นที่ภาคกลางลดลงเล็กน้อย -0.5% ปีต่อปี คิดเป็น 145.4 บาท/ตารางเมตร/เดือน

ส่วนต่างของค่าเช่ามีความใกล้เคียงกันมากในหลากหลายภูมิภาค โดยมีตั้งแต่ราคาขั้นต่ำ 100 บาท/ตารางเมตร/เดือน จนไปถึงราคาสูงสุด 180 บาทในภาคกลาง และ 200 บาทในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ความแตกต่างของราคาเช่าที่ชัดเจนสำหรับคลังสินค้าสำเร็จรูปสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของสินทรัพย์ที่ต่างกัน ตั้งแต่อุปทานเก่าที่ไม่เหมาะสำหรับการทำโลจิสติกส์สมัยใหม่ จนไปถึงอุปทานสมัยใหม่ระดับพรีเมียม เมื่อระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในตลาดอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์ มีการคาดการณ์ว่าส่วนต่างค่าเช่าจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
โลจิสติกส์บูมอัตราเช่าสูงสุดในรอบ 10 ปี คลังสินค้าแบบบิวท์ ทู สูทมาแรง
ในช่วงครึ่งปีหลังในปี 2564 ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและข้อจำกัดต่างๆ ส่งผลให้การบริโภคอยู่ในระดับต่ำ และเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ระดับความต้องการของอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์สมัยใหม่ได้กลายเป็นแผนกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของผู้บริโภคในตลาดโลจิสติกส์

ในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าค่าเช่าจะยังคงตัวเนื่องจากระดับของอุปทานใหม่ตรงตามอุปสงค์ที่เกิดขึ้นใหม่ การเช่าในช่วงครึ่งปีนี้อยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากมีอุปสงค์ที่ค่อนข้างสูงโดยมีแรงหนุนมาจากธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ประกอบกับความจำเป็นในพื้นที่คลังสินค้าที่มากขึ้นเพื่อทดแทนห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก หากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น ตัวขับเคลื่อนหลักจะมาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการฟื้นตัวของการผลิต

อย่างไรก็ตาม การที่รัสเซียรุกรานยูเครนได้เพิ่มความตึงเครียดให้กับภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากหลังการคว่ำบาตรรัสเซีย มีปัจจัยที่ซับซ้อนเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่ราคาพลังงานและอาหารทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไปถึงการขนส่งที่ล่าช้า รวมถึงการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ที่จะส่งผลให้กระแสการส่งสินค้าและบริการของโลกหยุดชะงัก

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีโอกาสสูงที่จะต้องการพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเพื่อใช้สำหรับบริการจัดส่งด่วน โดยสิ่งนี้จะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากในอนาคตอันใกล้ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซก่อให้เกิดอุปสงค์สำหรับคลังสินค้า นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก อาทิ  Central Group, Lazada, Shopee, Pomelo, DHL Express, Kerry Express และ Aden ได้สร้างคลังสินค้ากลางและจุดรับ-ส่งขนาดเล็กทั่วภูมิภาคเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสนใจในการขยายตลาดโลจิสติกส์ในประเทศไทย เพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยมีพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเป้าหมายหลัก และรวมถึงภูมิภาคอื่นๆ ตามการดาวน์โหลดแอปผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง เช่น Central Group, Big C hypermarkets, CP Group ฯลฯ

นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกขนาดใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะยานยนต์ ธุรกิจการเกษตร เคมีภัณฑ์ และอิเล็กทรอนิกส์ การฟื้นตัวของอุปสงค์ระหว่างประเทศหลังจากที่มีการหยุดชะงักมาเป็นเวลานานได้เป็นแรงหนุนให้กับภาคส่วนการผลิต และขับเคลื่อนอุปสงค์สำหรับบริการโลจิสติกส์ และพื้นที่คลังสินค้า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 5%

 

หากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนไม่รุนแรงไปกว่านี้และสามารถตกลงกันได้ภายในสามเดือน ในตอนนี้มีหลายอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในครั้งนี้โดยส่งผลให้การขนส่ง และสินค้าอุปโภคมีต้นทุนสูงขึ้น ปัญหาต่างๆ เช่น การขาดแคลนไมโครชิปในอุตสาหกรรมยานยนต์ จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนหากการชะลอตัวของภาคการส่งออกดีขึ้นแล้ว ในขณะเดียวกัน ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และนมข้นหวาน อาจเป็นการตัดกำลังซื้อของผู้บริโภคในไม่ช้าหากไม่ได้รับการควบคุม


โดยผู้พัฒนาอุตสาหกรรมรายใหญ่ชั้นนำ เช่น WHA และ Frasers ผู้พัฒนาเหล่านี้กำลังลงทุนในนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถบูรณาการระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์(AI) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง(IoT) บิ๊กดาต้า แล้วนำมาเพิ่มข้อเสนอให้คลังสินค้าอัจฉริยะสมัยใหม่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานระดับนานาชาติ ส่งผลให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และต้นทุนการดำเนินงานของผู้ครอบครองลดลง นวัตกรรมด้านระบบคลังสินค้าอัตโนมัติในไทยจะก่อให้เกิดคลังสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel warehouse) ที่สามารถรับ และจัดการกับคำสั่งซื้อที่มาจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ หรือจากช่องทางอื่นๆ การพัฒนาระบบคลังสินค้าอัตโนมัติจะก่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ส่วนต่างค่าเช่าระหว่างคลังสินค้าเหล่านี้กับพื้นที่คลังสินค้าอื่นๆ ในไทยเพิ่มมากขึ้น

พิสูจน์อักษร  โดย....สุรีย์   ศิลาวงษ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

 

 

 

 

 





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวประชาสัมพันธ์5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมสัมมนาประจำปี 2024 13/พ.ย./2567
      รับสมัครงานด่วน!! 30/ก.ย./2567
      การตรวจสอบ Audit ของบริษัท F&N Dairies ( Thailand ) Ltd. Wang Muang Plant 17/ก.ย./2567
      เช็คสุขภาพโรค และ ภัยหน้าหนาว 29/พ.ย./2566
      9 อาการ เตือนโรคไข้เลือดออก 26/ต.ค./2566