[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
LINE CONTACT

LOGIN FOR Customer
Stock Online สำหรับลูกค้า
Username
Password
LOGIN WMS
สำหรับพนักงาน
Username
Password
ปฏิทินกิจกรรม
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
เรื่อง : สุพัฒนพงษ์เร่ง 2 โครงการโลจิสติกส์ 3 แสนล้าน
โดย : admin
เข้าชม : 557
พุธ ที่ 16 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
A- A A+
        

https://www.pattananarai.com/Screenshot%202022-11-16%20100924.jpg

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมว่าที่ประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่มีการศึกษาโครงการแล้วมีความพร้อมในการลงทุน 2 โครงการที่สำคัญวงเงินรวมกว่า 3.3 แสนล้านบาท

ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง ขอนแก่น - หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินรวม 2.97 หมื่นล้านบาท โดยทั้งสองโครงการดังกล่าวกระทรวงคมนาคมเตรียมพร้อมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆนี้

งนี้ในโครงการรถไฟไฮสปีดไทย- จีน เฟส 2 กระทรวงคมนาคมได้รายงานว่าได้มีการหารือกับรัฐบาลของ สปป.ลาวในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อที่จะรองรับขบวนรถไฟไฮสปีดโดยเฉพาะ เพื่อใช้แทนสะพานข้ามแม่น้ำโขงเดิมที่ใช้ทั้งรถปกติและรถไฟ โดยรูปแบบการลงทุนของสะพานแห่งใหม่นี้จะมีการหารือในรูปแบบการร่วมทุกกันอีกครั้งในทั้ง 3 ประเทศคือ สปป.ลาว จีน และไทยว่าจะลงทุนในรูปแบบใดถึงมีความเหมาะสม

นอกจากนั้นที่ประชุม กบส.ยังเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 - 2570 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าในอนุภูมิภาคและภูมิภาค เชื่อมโยงการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากระดับ 13.8% ในปัจจุบันให้ลดลงเหลือ 11% ก่อนสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในปี 2570

“ในปี 2564 คิดเป็นสัดส่วน 13.8%  ต่อจีดีพีลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 14% ต่อจีดีพีหรือมีมูลค่าประมาณ 2,238.8 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1.8% ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศจากการผ่อนคลายมาตรการด้านโควิด-19 และแรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้การส่งออกกลับมาขยายตัว สำหรับปี 2565 ต้นทุนโลจิสติกส์ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 12.9-13.3 ต่อจีดีพี”

ทั้งนี้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ประกอบด้วย 5 แนวทางการพัฒนา ได้แก่ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2.การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าโซ่อุปทาน

3. การพัฒนาพิธีการศุลกากร กระบวนการนำเข้า-ส่งออกที่เกี่ยวข้อง และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ 4. การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย และ 5.การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และการติดตามผลด้านโลจิสติกส์ และได้กำหนดเป้าหมายในการลดสัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าและต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อจีดีพีและเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ด้านพิธีการศุลกากรและด้านสมรรถนะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและธุรกิจ นอกจากนี้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ยังเห็นชอบการทบทวนมติ ครม.เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ NSW และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ NSW

รวมทั้งรับทราบสถานะการพัฒนาธุรกรรมการให้บริการ นำเข้า-ส่งออก และโลจิสติกส์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ New Single Window (NSW) ที่ปรับลดธุรกรรมจาก 480 กระบวนงาน คงเหลือ 473 กระบวนงาน เนื่องจากกระบวนงานของกรมวิชาการเกษตรไม่ได้เป็นกระบวนงานที่ใช้ในการประกอบพิธีศุลกากรราย Shipment และปัจจุบันมีธุรกรรมที่ให้บริการผ่านระบบ NSW แล้ว 444 กระบวนงาน คิดเป็น 93.67% รวมทั้งปรับลดจำนวนหน่วยงานที่ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบ NSW จาก 37 หน่วยงาน คงเหลือ 34 หน่วยงาน เนื่องจากมี 3 หน่วยงานที่ได้เชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Flight Permit Online System (FPOS) สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลการบินตามมาตรฐาน ICAO แล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokbiznews.com





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวประชาสัมพันธ์5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมสัมมนาประจำปี 2024 13/พ.ย./2567
      รับสมัครงานด่วน!! 30/ก.ย./2567
      การตรวจสอบ Audit ของบริษัท F&N Dairies ( Thailand ) Ltd. Wang Muang Plant 17/ก.ย./2567
      เช็คสุขภาพโรค และ ภัยหน้าหนาว 29/พ.ย./2566
      9 อาการ เตือนโรคไข้เลือดออก 26/ต.ค./2566